เทคนิคและการวิเคราะห์ เส้นแนวโน้ม (Trendlines)

ความเชื่อหลัก 2 ข้อ ของนักวิเคราะห์ทางเทคนิคคือ
หุ้นจะเคลื่อนที่ไปตามแนวโน้ม จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม


มีการเรียกตลาดขาขึ้นว่า ตลาดกระทิง เพราะ ขวิดเหมือนกระทิง
และมีการเรียกตลาดขาลงว่า ตลาดหมี เพราะ ตะปบเหมือนหมี

การดูเส้นแนวโน้มดูได้ตามนี้ครับ




Marketiva

เส้นแนวโน้มขาขึ้น ให้ลากจากจุดต่ำสุดที่เราสนใจ ถ้าแนวหนุนทะลุ แนวต้านตั้งแต่ 2 จุดขึ้นไปจะถือว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น

เส้นแนวโน้มขาลง ให้ดูเส้น แนวหนุน ถ้้าแนวโน้มทะลุแนวหนุน 2 จุดขึ้นไปให้ถือว่าเป็นแนวโน้มขาขึ้น

เทคนิค :ในขณะที่มีการฝา Breakout ควรมีปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่นด้วยจึงจะเป็นไปตามทิศนั้น ปริมาณการซื้อขายยิ่งมากยิ่งแรง ถ้าปริมาณการซื้อขายน้อย การฝ่านั้นก็ไม่มีความหมาย มีโอกาสเป็นสัญญานหลอก (Fault Signal) ได้ง่าย


แนวหนุน - แนวต้าน
แนวหนุนและแนวต้านเป็นจุดที่มีการประลองกำลังกันอย่างจริงจังระหว่างแรงซื้อกับแรงขาย

แนวหนุน เป็นบริเวณที่นักลงทุนจำนวนหนึ่งยินดีที่จะเข้าซื้อหุ้นนั้นไว้ จำนวนนักลงทุนกลุ่มนี้มีมากเท่าใด แนวหนุนก็แข็งแกร่งขึ้นเท่านั้น

แนวต้่าน เป็นบริเวณที่นักลงทุนจำนวนหนึ่งยินดีที่จะเทขายหุ้นนั้น จำนวนนักลงทุนกลุ่มนี้มีมากเท่าใด แนวต้านก็จะแข็งแกร่งขึ้นเท่านั้นได้

อาจมองแนวหนุนกับแนวต้านได้ 2 ประการคือ
1.แนวหนุนและแนวต้านตามเส้นแนวโน้ม
2.แนวหนุนและแนวต้านในแนวระดับจากยอด หรือ จากจุดต่ำสุดของกราฟที่ผ่านมา

ความน่าเชื่อถือของแนวหนุนและแนวต้าน
ความน่าเชื่อถือของแนวหนุนและแนวต้านขึ้นอยู่กับ

1.ปริมาณการซื้อขาย (Volume) ในปริเวณนั้นหรือความหนาแน่นของราคาหุ้นในระดับที่นักลงทุนติดค้างอยู่เป็นจำนวนมากน้อยเพียงใด ถ้ายิ่งมาก ความเหนียวแน่นของแนวนั้นจะยิ่งสูง


2.ระยะเวลา (Time) หมายถึง ถ้าระดับการซื้อขายแต่ละช่วงกินเวลานานหลายๆสัปดาห์ คนที่ "ติด"  หุ้นในเวลาดังกล่าวก็จะมากเช่นกัน เพราะยิ่งระยะเวลานาน ยิ่งหมายถึงการสะสมหุ้นเป็นจำนวนมากอันแสดงถึงความเหนียวแน่นของแนวต้านนี้

3.ระยะห่าง (Distance) ถ้าระยะห่างของแนวหนุนหรือแนวต้านนั้นห่างจากจุดปัจจุบันมากเท่าไหร่ ความน่าเชื่อถือของแนวหนุนหรือแนวต้านจะลดน้อยลงไปมากเท่านั้น

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น